มาเลเซีย
(มาเลย์: Malaysia) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยพื้นที่
2 ส่วนโดยมีทะเลจีนใต้กั้น ส่วนแรกคือ มาเลเซียตะวันตก
อยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายูและคาบสมุทรอินโดจีน
มีพรมแดนติดประเทศไทยทางรัฐกลันตัน เประ ปะลิส และเกดะห์ และติดกับสิงคโปร์ทางรัฐยะโฮร์
ส่วนที่ 2 คือ มาเลเซียตะวันออก อยู่ทางตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว
มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซียทุกส่วนของมาเลเซียตะวันออก
แต่ล้อมรอบประเทศบรูไนดารุสซาลามด้วยรัฐซาราวักเพียงรัฐเดียว
มาเลเซียเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มประเทศอาเซียน วันชาติคือวันที่ 31 สิงหาคม
แถบริ้วพื้นสีแดงและพื้นสีขาว มีด้วยกัน 14 แถบ ซึ่งจะสื่อและให้ความหมายถึงสถานะอันเสมอภาคของรัฐทั้ง 13 รัฐภายในประเทศ และรัฐบาลกลางที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
ดาวที่มี 14 แฉก สื่อและให้ความหมายในเรื่องของความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐทั้ง 14 รัฐภายในประเทศมาเลเซีย
รูปพระจันทร์เสี้ยว สื่อและให้ความหมายถึง ศาสนาประจำชาติของประเทศมาเลเซียอันได้แก่ ศาสนาอิสลาม
สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยว พร้อมทั้งดาราสหพันธ์ ซึ่งสีเหลืองคือสีแห่งยังดี เปอร์ตวน อากง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ
พื้นสีน้ำเงิน สื่อและให้ความหมายในส่วนของ ความสามัคคีทั้งหมดของชาวมาเลเซีย
ภูมิประเทศแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แหลมมลายูกับพื้นที่บริเวณส่วนเหนือของเกาะบอร์เนียว รวมพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้นเขตร้อนที่อุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่ราบไม่มากนัก
การปกครองแบ่งเป็น 13 รัฐ อยู่บนแหลมมลายู 11 รัฐ ประกอบด้วย รัฐปะลิส (Perlis) รัฐเกดะห์ (Kedah) รัฐปีนัง (Penang) รัฐเประ (Perak) รัฐกลันตัน (Kelantan) รัฐตรังกานู (Trengganu) รัฐสลังงอร์ (Selangor) รัฐเนกรีเซมบิลัน (Negeri Sembilan) รัฐมะละกา (Melaka) รัฐปะหัง (Pahang) และรัฐยะโฮร์ (Jahor) ส่วนอีก 2 รัฐ คือ รัฐซาราวัก (Sarawak) และรัฐซาบาห์ (Sabah) ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว มีกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur) เป็นเมืองหลวง และปุตราจายา (Putrajaya) เป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองแห่งใหม่ โดยทั้งสองเมืองนี้ตั้งอยู่บนรัฐสลังงอร์
ธงประจำชาติ
แถบริ้วพื้นสีแดงและพื้นสีขาว มีด้วยกัน 14 แถบ ซึ่งจะสื่อและให้ความหมายถึงสถานะอันเสมอภาคของรัฐทั้ง 13 รัฐภายในประเทศ และรัฐบาลกลางที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
ดาวที่มี 14 แฉก สื่อและให้ความหมายในเรื่องของความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐทั้ง 14 รัฐภายในประเทศมาเลเซีย
รูปพระจันทร์เสี้ยว สื่อและให้ความหมายถึง ศาสนาประจำชาติของประเทศมาเลเซียอันได้แก่ ศาสนาอิสลาม
สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยว พร้อมทั้งดาราสหพันธ์ ซึ่งสีเหลืองคือสีแห่งยังดี เปอร์ตวน อากง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ
พื้นสีน้ำเงิน สื่อและให้ความหมายในส่วนของ ความสามัคคีทั้งหมดของชาวมาเลเซีย
ตราประจำชาติ
ตราแผ่นดินของมาเลเซีย (มาเลย์: Jata Negara)
ประกอบด้วยส่วนหลักๆห้าส่วนคือ โล่ เสือโคร่งสองตัว พระจันทร์เสี้ยวสีเหลืองและดาวสีเหลือง 14 แฉก และแถบผ้า
ตราแผ่นดินของมาเลเซียนี้สืบทอดมาจากตราแผ่นดินสหพันธรัฐมาลายาระหว่างที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ
ตราในปัจจุบันจึงมีอิทธิพลของตราแบบตะวันตกอยู่มาก
ดอกไม้ประจำชาติ
ชบา
ชื่อพื้นเมือง บุหงารายอ
ลักษณะทั่วไป ใบเดี่ยว ออกสลับ
รูปไข่กว้าง 3-5.5 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลมโคนสอบหรือมน
ขอบจัก
ขอบจัก
ดอก ลักษณะกลีบดอกเป็นสีแดง
มีเกสรยื่นยาวออกมาเหนือดอก
ด้านภูมิทัศน์ พบได้ทั่วไปในประเทศมาเลเซีย
สัตว์ประจำชาติ
เสือโคร่งมลายู
เสือโคร่งมาลายูเป็นสัตว์ตะกูลเสือโคร่งที่มีลักษณะเฉพาะ
มีขนาดใหญ่และมีความแข็งแรงมาก
พบมากทางภาคกลางของประเทศมาเลเซียและสามารถพบได้ในป่าดิบชื้นของประเทศเช่น
เพนนิซูล่า กลันตัน ตรังกานู เประ ปะหัง
และป่าตอนใต้สุดของไทยที่ติดกับชายแดนมาเลเซีย
นอกจากเสือโคร่งมลายูจะเป็นสัตว์ประจำชาติมาเลเซีย ยังปรากฏอยู่ในตราสัญญลักษณ์ของประเทศ
และเรานิยมเรียกคนมาเลย์และทีมกีฬาของมาเลเซียว่าทีมเสือเหลืองอีกด้วย
ซึ่งคำว่าเสือเหลืงหมายถึงเสือโคร่งมลายูนั่นเอง
อาหารประจำชาติ
นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak)
นาซิ เลอมัก (Nasi
Lemak) อาหารยอดนิยมของมาเลเซีย คือข้าวหุงกับกะทิและใบเตย ทานพร้อม เครื่องเคียง 4 อย่างได้แก่
ปลากะตักทอดกรอบ แตงกวาหั่น ไข่ต้มสุก และถั่วอบ นาซิ เลอมักแบบดั้งเดิมจะห่อด้วยใบตองและมักทานเป็นอาหารเช้า
แต่ในปัจจุบัน กลายเป็นอาหารยอดนิยมที่ทานได้ทุกมื้อ และแพร่หลายในประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายแห่ง เช่น สิงคโปร์
และภาคใต้ของไทย
การแต่งกายประจำชาติ
สำหรับชุดประจำชาติมาเลเซียของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหม ผ้าฝ้าย หรือโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของผ้าฝ้ายส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรุง (Baju Kurung) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาว และกระโปรงยาว
ภูมิประเทศและการปกครอง
ภูมิประเทศแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แหลมมลายูกับพื้นที่บริเวณส่วนเหนือของเกาะบอร์เนียว รวมพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้นเขตร้อนที่อุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่ราบไม่มากนัก
การปกครองแบ่งเป็น 13 รัฐ อยู่บนแหลมมลายู 11 รัฐ ประกอบด้วย รัฐปะลิส (Perlis) รัฐเกดะห์ (Kedah) รัฐปีนัง (Penang) รัฐเประ (Perak) รัฐกลันตัน (Kelantan) รัฐตรังกานู (Trengganu) รัฐสลังงอร์ (Selangor) รัฐเนกรีเซมบิลัน (Negeri Sembilan) รัฐมะละกา (Melaka) รัฐปะหัง (Pahang) และรัฐยะโฮร์ (Jahor) ส่วนอีก 2 รัฐ คือ รัฐซาราวัก (Sarawak) และรัฐซาบาห์ (Sabah) ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว มีกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur) เป็นเมืองหลวง และปุตราจายา (Putrajaya) เป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองแห่งใหม่ โดยทั้งสองเมืองนี้ตั้งอยู่บนรัฐสลังงอร์
ประเทศมาเลเซียนี้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
โดยมี ยัง ดี เปอร์ตวน อากง (Yang di Pertaun Agong) หรืพระราชาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ
มาจากการเวียนกันของสลุต่านจากรัฐต่าง ๆ ทุก ๆ 5 ปี
และมีนายกรัฐมนตรีซึ่งมาจากการเลือกตั้งดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้ารัฐบาล
ประชากรและศาสนา
ประชากรในมาเลเซียมีหลากหลายเชื้อชาติโดยส่วนใหญ่ของประเทศคือ
ชนเชื้อสายมาเลย์ รองลงมาคือ จีน และอินเดีย นอกจากนั้นคือชนพื้นเมือง
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งถือเป็นศาสนาประจำชาติ
รองลงมาคือศาสนาพุทธนิกายมหายาน นอกจากนี้คือ ศาสนาฮินดู และคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ
สภาพภูมิอากาศ
เทือกเขาคินาบาลู ของ เกาะบอร์เนียว |
เนื่องจากตั้งอยู่เกือบถึงเส้นศูนย์สูตร
สภาพภูมิอากาศจึงเป็นแบบเขตร้อน อีกทั้งอยู่บนคาบสมุทร
ทำให้ได้รับอิทธิพลของลมมรสุม ฝนตกชุกเกือบตลอดปีโดยเฉพาะช่วงเมษายนถึงพฤษภาคม
และตุลาคมถึงพฤศจิกายน
ส่วนฝั่งตะวันออกของประเทศจะได้รับอิทธิพลของลมมรสุมมากกว่าทำให้ฝนตกนานจนถึงเดือนกุมภาพันธ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น