วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การแต่งกาย(เพิ่มเติม)



              ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติของชาติมาเลเซีย ซึ่งเคร่งครัดในระเบียบปฏิบัติตามบทบัญญัติของศาสนา โดยเฉพาะการแต่งกายที่สุภาพมิดทั้งหญิงและชายในอดีต ผู้ชายชาวมาเลเซียมักนุ่งโสร่งไม่สวมเสื้อ หรือถ้าจะสวมใส่ก็เป็นเสื้อแขนสั้นหรือกางเกงขาสั้นแทนโสร่งแทน ส่วนผู้หญิงนิยมนุ่งผ้ากระโจมอก บางคนอาจมีผ้าบางๆไว้คลุมไหล่ องค์สุลต่านอาบูบาการ์แห่งรัฐยะโฮร์ ทรงเห็นว่าการแต่งกายของชาวมาเลเซียไม่เรียบร้อย อีกทั้งไม่มีชุดประจำชาติที่ดูสุภาพพระองค์จึงทรงคิดให้ชุด บาจู กูหรง (Baji Kurung)ซึ่งเป็นภาษามลายู แปลว่า ปกปิดมิดชิด



              ลักษณะเด่นของชุดบาจู กูหรงไม่ว่าของผู้ชายหรือผู้หญิง มักจะตัดเย็บด้วยผ้าผืนเดียวกัน เพราะฉะนั้นทั้งสีและลวดลายบนผืนผ้า จึงเป็นแบบเดียวกันทั้งชุด แต่ชุดของผู้ชายกลับมีเครื่องเครามากกว่าของผู้หญิงชุดผู้ชาย ทั้งเสื้อและกางเกงลวดลายสีสันเดียวกันทั้งชุด ไม่นิยมลวดลายสัตว์หรือผิดหลักศาสนาอิสลาม เสื้อผู้ชายเป็นแขนยาว ทั้งแบบคอลมและคอจีน ซึ่งมีรังดุมราว 2-5 เม็ด ผ่าจากคอเสื้อลงมาถึงกลางอก

            ส่วนท่อนล่างจะเลือกใส่กางเกงหรือผ้าโสร่งก็ได้  ถ้าใส่กางเกงต้องมีผ้าพัน  หรือมองดูคล้ายโสร่งสั้น  จากสะดือถึงเข่า  ภาษามลายูเรียกผ้าพันนี้ว่า  ซัมปิน  (Sampin)  ซึ่งสีไมฉูดฉาด  แต่ก็สวยงามบางทีเป็นผ้าไหม  ดิ้นทอง  ซัมปินทำให้ชุดผู้ชายดูสุภาพเรียบร้อย  ทั้งยังสามารถกันเปื้อนได้อีกด้วย
ที่ศีรษะผู้ชายจะสวมหมวกแขกกำหยี่สีดำ  ภาษามลายูเรียกว่า  ซองโก๊ะ  (Songkok)  แต่ถ้าจะให้เต็มยศบางคนก็จะสวมผ้าพันเป็นรูปมงกุฎสวมทับไปบนหมวกอีกชั้นหนึ่ง
              การพับผ้าเป็นรูปมงกุฎมีแบบต่างๆ เช่น  รูปนกอินทรีปีกหัก  รูปช้างรบ  รูปสู้ลม  ถือเป็นศิลปะที่ต้องใช้เวลาประดิดประดอย  จึงไม่เป็นที่นิยม  ในอดีตการสวมผ้าพับรูปมงกุฎนี้เป็นเครื่องบอกชนชั้นในสังคมมาเลเซีย  ส่วนใหญ่เป็นเครื่องทรงขององค์สุลต่านและราชวงศ์  ส่วนสามัญชนจะสวมใส่ผ้าพันมงกุฎนี้ในวันสำคัญเช่นในวันแต่งงาน  ซึ่งหมายถึงเจ้าบ่าวเป็นเจ้าชายในวันนั้น
              สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งของชาวมาเลเซียคือ  กริช  ซึ่งเคยเป็นอาวุธประจำกายของผู้ชายที่ต้องติดตัวอยู่ตลอดเวลา  แต่ปัจจุบันกริช  ใช้เป็นเครื่องประดับในชุดบาจู  กูหรง  โดยเหน็บข้างเอวให้เห็นเท่านั้น  การแต่งกายแบบนี้สำหรับชาวมาเลเซียถือว่าสุภาพมาก  มักแต่งไปในงานพิธีเช่นงานแต่งงาน
              ที่กล่าวมานี้ค่อนข้างเป็นการแต่งกายที่เป็นทางการ  แต่ถ้าต้องการความสะดวกเรียบง่าย  เพื่อไปประกอบพิธีกรรมที่มัสยิด     ก็เพียงโสร่ง  สวมเสื้อปล่อยชายยาวคลุมทับโสร่ง  สวมหมวกกำมะหยี่สีดำ
              บางครั้งผู้ชายก็แต่งตัวอย่างสากล  ใส่เสื้อแขนยาวสีขาวหรือสีอ่อน  ดูสุภาพ    กับกางเกงสีเข้ม  และที่ขาดไม่ได้คือใส่หมวกกะปิเยาะห์


              ชุดผู้หญิง  มีเครื่องแต่งกายน้อยชิ้นกว่าชาย  ทั้งเสื้อและกระโปรงตัดด้วยผ้าบางเบา  เนื่องจากภูมิอากาศที่ร้อนอบอ้าว  ผ้าเป็นลวดลายและสีเดียวกันทั้งชุด    หรือสีที่เข้ากันดีระหว่างเสื้อกับผ้านุ่ง    นิยมลวดลายดอกไม้สีสันสดใส เสื้อผู้หญิงเป็นแบบแขนยาว  ชายเสื้อยาวลงมาถึงเข่า  บางคนนิยมตัดเย็บเสื้อเข้ารูป  แต่บางคนปล่อยให้หลวมๆ  ไม่เน้นรูปร่าง  ส่วนท่อนล่างเป็นกระโปรงยาวคลุมตาตุ่ม  ไม่ผ่าข้าง เมื่ออกนอกบ้าน  ผู้หญิงมาเลเซียนิยมคลุมศีรษะด้วยผ้าบางเบา  มีสีสันลวดลายดูกลมกลืนหรือเป็นลายเดียวกับเสื้อและกระโปรง  ผ้านี้บางทีก็นำมาคลุมไหล่เป็นเครื่องประดับได้ด้วย  สตรีมุสลิมที่เคร่งครัดก็มักคลุมฮิญาบ   หรือที่ชาวมลายูเรียกว่า  ตุดง (Tudung)  ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมมากขึ้น

ส่วนประกอบของตราประจำชาติ



  เครื่องยอด ประกอบด้วยรูปจันทร์เสี้ยวและดาว 14 แฉกซึ่งเรียกว่า "ดาราสหพันธ์" ("Bintang Persekutuan") ทั้งสองรูปนี้เป็นสีเหลือง หมายถึงยังดี เปอร์ตวน อากง กษัตริย์ผู้เป็นองค์อธิปัตย์ของสหพันธรัฐ นอกจากนี้รูปจันทร์เสี้ยวยังหมายถึงศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติอย่างเป็นทางการ ส่วนดาราสหพันธ์หมายถึงรัฐทั้ง 13 รัฐของสหพันธ์และดินแดนของรัฐบาลสหพันธรัฐ
เดิมรูปดาว 14 แฉกนั้นใช้เป็นสัญลักษณ์แทนรัฐที่รวมเป็นประเทศมาเลเซียเมื่อแรกก่อตั้ง 14 รัฐ ซึ่งมีสิงคโปร์รวมอยู่ด้วย ต่อมาเมื่อสิงคโปร์แยกตัวจากสหพันธรัฐ รูปดาว 14 แฉกนี้ก็มิได้มีการแก้ไข แต่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าดาวดังกล่าวได้รวมความหมายถึงดินแดนของสหพันธรัฐที่มีอยู่แทน
              รูปโล่ ในตราอาร์มนี้เป็นสัญลักษณ์แทนการรวมเป็นเอกภาพของรัฐต่างๆ ภายใต้สหพันธรัฐของชาวมาเลย์ ภายในโล่แบ่งพื้นที่อย่างคร่าวๆ ออกเป็น 3 ส่วน ตามแนวนอน หากแบ่งโดยละเอียดจะนับได้สิบส่วน ดังนี้ ส่วนบนสุดหรือส่วนหัวของโล่ บรรจุภาพกริช 5 เล่มบนพื้นสีแดง หมายถึงอดีตรัฐมลายูที่อยู่นอกสหพันธรัฐมาลายา 5 รัฐ ได้แก่ รัฐยะโฮร์ รัฐตรังกานู รัฐกลันตัน รัฐเกดะห์ (ไทรบุรี) และรัฐปะลิส ส่วนกลางโล่ประกอบด้วย ทางซ้ายสุด เป็นรูปต้นปาล์มปีนังอยู่เหนือสะพานปีนัง หมายถึงรัฐปีนัง ถัดมาตรงกลางเป็นแถวช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า 4 แถว ประกอบด้วยสีของธงชาติสหพันธรัฐมาลายา ได้แก่ สีแดง สีดำ สีขาว และสีเหลือง เรียงจากซ้ายไปขวา สีเหล่านี้เป็นสีที่ใช้ประกอบในธงประจำรัฐสมาชิกในสหพันธรัฐมาลายา ได้แก่ รัฐเนกรีเซมบิลัน (แดง-ดำ-เหลือง). รัฐปาหัง (ดำ-ขาว), รัฐเประ (ขาว-เหลือง) และรัฐสลังงอร์ (แดง-เหลือง) ทางขวาสุด เป็นรูปต้นมะขามป้อม (Indian gooseberry) อันเป็นสัญลักษณ์ของรัฐมะละกา ส่วนล่างหรือท้องโล่ แบ่งออกเป็นสามช่อง เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา ดังนี้ ทางซ้ายสุด เป็นรูปตราอาร์มประจำรัฐซาบาห์ (ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2506) ตรงกลาง เป็นรูปดอกชบา ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำชาติ ทางขวาสุด เป็นรูปตราอาร์มประจำรัฐซาราวัก
              รูปเสือโคร่งท่ายืนผงาด ที่ประคองสองข้างของตราเป็นสัญลักษณ์ตามธรรมเนียมเดิมของชาวมลายู หมายถึงกำลังและความกล้า รูปดังกล่าวนี้มีที่มาจากตราเดิมของรัฐแห่งสหพันธ์มาลายา (Federated Malay States) และสหพันธรัฐมาลายา (Federation of Malaya)
              คำขวัญประจำดวงตราปรากฏอยู่ในตำแหน่งล่างสุดของโล่ ประกอบด้วยแพรแถบและข้อความ "Bersekutu Bertambah Mutu" อันมีความหมายว่า "ความเป็นเอกภาพคือพลัง" ข้อความนี้เป็นภาษามลายู เขียนด้วยอักษรโรมันและอักษรยาวี ข้อความที่เป็นอักษรโรมันนี้ได้ถูกนำมาแทนที่ข้อความเดิมซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ ("Unity is Strength") ภายหลังจากการประกาศเอกราชระยะหนึ่ง ตราแผ่นดินสมัยต่างๆ

ประเทศมาเลเซีย


              มาเลเซีย (มาเลย์: Malaysia) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยพื้นที่ 2 ส่วนโดยมีทะเลจีนใต้กั้น ส่วนแรกคือ มาเลเซียตะวันตก อยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายูและคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดประเทศไทยทางรัฐกลันตัน เประ ปะลิส และเกดะห์ และติดกับสิงคโปร์ทางรัฐยะโฮร์ ส่วนที่ 2 คือ มาเลเซียตะวันออก อยู่ทางตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซียทุกส่วนของมาเลเซียตะวันออก แต่ล้อมรอบประเทศบรูไนดารุสซาลามด้วยรัฐซาราวักเพียงรัฐเดียว มาเลเซียเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มประเทศอาเซียน วันชาติคือวันที่ 31 สิงหาคม



ธงประจำชาติ




              แถบริ้วพื้นสีแดงและพื้นสีขาว มีด้วยกัน 14 แถบ ซึ่งจะสื่อและให้ความหมายถึงสถานะอันเสมอภาคของรัฐทั้ง 13 รัฐภายในประเทศ และรัฐบาลกลางที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
              ดาวที่มี 14 แฉก สื่อและให้ความหมายในเรื่องของความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐทั้ง 14 รัฐภายในประเทศมาเลเซีย
              รูปพระจันทร์เสี้ยว สื่อและให้ความหมายถึง ศาสนาประจำชาติของประเทศมาเลเซียอันได้แก่ ศาสนาอิสลาม
              สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยว พร้อมทั้งดาราสหพันธ์ ซึ่งสีเหลืองคือสีแห่งยังดี เปอร์ตวน อากง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ
              พื้นสีน้ำเงิน สื่อและให้ความหมายในส่วนของ ความสามัคคีทั้งหมดของชาวมาเลเซีย



ตราประจำชาติ



              ตราแผ่นดินของมาเลเซีย (มาเลย์: Jata Negara) ประกอบด้วยส่วนหลักๆห้าส่วนคือ โล่ เสือโคร่งสองตัว พระจันทร์เสี้ยวสีเหลืองและดาวสีเหลือง 14 แฉก และแถบผ้า ตราแผ่นดินของมาเลเซียนี้สืบทอดมาจากตราแผ่นดินสหพันธรัฐมาลายาระหว่างที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ตราในปัจจุบันจึงมีอิทธิพลของตราแบบตะวันตกอยู่มาก


ดอกไม้ประจำชาติ




ชบา


ชื่อพื้นเมือง       บุหงารายอ
ลักษณะทั่วไป    ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปไข่กว้าง 3-5.5 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลมโคนสอบหรือมน 
                        ขอบจัก  
                        ดอก ลักษณะกลีบดอกเป็นสีแดง มีเกสรยื่นยาวออกมาเหนือดอก
ด้านภูมิทัศน์      พบได้ทั่วไปในประเทศมาเลเซีย


สัตว์ประจำชาติ




เสือโคร่งมลายู

              เสือโคร่งมาลายูเป็นสัตว์ตะกูลเสือโคร่งที่มีลักษณะเฉพาะ มีขนาดใหญ่และมีความแข็งแรงมาก พบมากทางภาคกลางของประเทศมาเลเซียและสามารถพบได้ในป่าดิบชื้นของประเทศเช่น เพนนิซูล่า กลันตัน ตรังกานู เประ ปะหัง และป่าตอนใต้สุดของไทยที่ติดกับชายแดนมาเลเซีย นอกจากเสือโคร่งมลายูจะเป็นสัตว์ประจำชาติมาเลเซีย ยังปรากฏอยู่ในตราสัญญลักษณ์ของประเทศ และเรานิยมเรียกคนมาเลย์และทีมกีฬาของมาเลเซียว่าทีมเสือเหลืองอีกด้วย ซึ่งคำว่าเสือเหลืงหมายถึงเสือโคร่งมลายูนั่นเอง


อาหารประจำชาติ



นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak)

              นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) อาหารยอดนิยมของมาเลเซีย คือข้าวหุงกับกะทิและใบเตย ทานพร้อม เครื่องเคียง 4 อย่างได้แก่ ปลากะตักทอดกรอบ แตงกวาหั่น ไข่ต้มสุก และถั่วอบ นาซิ เลอมักแบบดั้งเดิมจะห่อด้วยใบตองและมักทานเป็นอาหารเช้า แต่ในปัจจุบัน กลายเป็นอาหารยอดนิยมที่ทานได้ทุกมื้อ และแพร่หลายในประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายแห่ง เช่น สิงคโปร์ และภาคใต้ของไทย


การแต่งกายประจำชาติ



              สำหรับชุดประจำชาติมาเลเซียของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหม ผ้าฝ้าย หรือโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของผ้าฝ้ายส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรุง (Baju Kurung) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาว และกระโปรงยาว



ภูมิประเทศและการปกครอง



              ภูมิประเทศแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แหลมมลายูกับพื้นที่บริเวณส่วนเหนือของเกาะบอร์เนียว รวมพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้นเขตร้อนที่อุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่ราบไม่มากนัก
              การปกครองแบ่งเป็น 13 รัฐ อยู่บนแหลมมลายู 11 รัฐ ประกอบด้วย รัฐปะลิส (Perlis) รัฐเกดะห์ (Kedah) รัฐปีนัง (Penang) รัฐเประ (Perak) รัฐกลันตัน (Kelantan) รัฐตรังกานู (Trengganu) รัฐสลังงอร์ (Selangor) รัฐเนกรีเซมบิลัน (Negeri Sembilan) รัฐมะละกา (Melaka) รัฐปะหัง (Pahang) และรัฐยะโฮร์ (Jahor) ส่วนอีก 2 รัฐ คือ รัฐซาราวัก (Sarawak) และรัฐซาบาห์ (Sabah) ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว มีกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur) เป็นเมืองหลวง และปุตราจายา (Putrajaya) เป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองแห่งใหม่ โดยทั้งสองเมืองนี้ตั้งอยู่บนรัฐสลังงอร์


              ประเทศมาเลเซียนี้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมี ยัง ดี เปอร์ตวน อากง (Yang di Pertaun Agong) หรืพระราชาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ มาจากการเวียนกันของสลุต่านจากรัฐต่าง ๆ ทุก ๆ 5 ปี และมีนายกรัฐมนตรีซึ่งมาจากการเลือกตั้งดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้ารัฐบาล


ประชากรและศาสนา



              ประชากรในมาเลเซียมีหลากหลายเชื้อชาติโดยส่วนใหญ่ของประเทศคือ ชนเชื้อสายมาเลย์ รองลงมาคือ จีน และอินเดีย นอกจากนั้นคือชนพื้นเมือง ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งถือเป็นศาสนาประจำชาติ รองลงมาคือศาสนาพุทธนิกายมหายาน นอกจากนี้คือ ศาสนาฮินดู และคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ


สภาพภูมิอากาศ

เทือกเขาคินาบาลู ของ เกาะบอร์เนียว
              เนื่องจากตั้งอยู่เกือบถึงเส้นศูนย์สูตร สภาพภูมิอากาศจึงเป็นแบบเขตร้อน อีกทั้งอยู่บนคาบสมุทร ทำให้ได้รับอิทธิพลของลมมรสุม ฝนตกชุกเกือบตลอดปีโดยเฉพาะช่วงเมษายนถึงพฤษภาคม และตุลาคมถึงพฤศจิกายน ส่วนฝั่งตะวันออกของประเทศจะได้รับอิทธิพลของลมมรสุมมากกว่าทำให้ฝนตกนานจนถึงเดือนกุมภาพันธ์