ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติของชาติมาเลเซีย ซึ่งเคร่งครัดในระเบียบปฏิบัติตามบทบัญญัติของศาสนา โดยเฉพาะการแต่งกายที่สุภาพมิดทั้งหญิงและชายในอดีต ผู้ชายชาวมาเลเซียมักนุ่งโสร่งไม่สวมเสื้อ หรือถ้าจะสวมใส่ก็เป็นเสื้อแขนสั้นหรือกางเกงขาสั้นแทนโสร่งแทน ส่วนผู้หญิงนิยมนุ่งผ้ากระโจมอก บางคนอาจมีผ้าบางๆไว้คลุมไหล่ องค์สุลต่านอาบูบาการ์แห่งรัฐยะโฮร์ ทรงเห็นว่าการแต่งกายของชาวมาเลเซียไม่เรียบร้อย อีกทั้งไม่มีชุดประจำชาติที่ดูสุภาพพระองค์จึงทรงคิดให้ชุด บาจู กูหรง (Baji Kurung)ซึ่งเป็นภาษามลายู แปลว่า ปกปิดมิดชิด
ลักษณะเด่นของชุดบาจู กูหรงไม่ว่าของผู้ชายหรือผู้หญิง มักจะตัดเย็บด้วยผ้าผืนเดียวกัน เพราะฉะนั้นทั้งสีและลวดลายบนผืนผ้า จึงเป็นแบบเดียวกันทั้งชุด แต่ชุดของผู้ชายกลับมีเครื่องเครามากกว่าของผู้หญิงชุดผู้ชาย ทั้งเสื้อและกางเกงลวดลายสีสันเดียวกันทั้งชุด ไม่นิยมลวดลายสัตว์หรือผิดหลักศาสนาอิสลาม เสื้อผู้ชายเป็นแขนยาว ทั้งแบบคอลมและคอจีน ซึ่งมีรังดุมราว 2-5 เม็ด ผ่าจากคอเสื้อลงมาถึงกลางอก
ส่วนท่อนล่างจะเลือกใส่กางเกงหรือผ้าโสร่งก็ได้ ถ้าใส่กางเกงต้องมีผ้าพัน หรือมองดูคล้ายโสร่งสั้น จากสะดือถึงเข่า ภาษามลายูเรียกผ้าพันนี้ว่า ซัมปิน (Sampin) ซึ่งสีไมฉูดฉาด แต่ก็สวยงามบางทีเป็นผ้าไหม ดิ้นทอง ซัมปินทำให้ชุดผู้ชายดูสุภาพเรียบร้อย ทั้งยังสามารถกันเปื้อนได้อีกด้วย
ส่วนท่อนล่างจะเลือกใส่กางเกงหรือผ้าโสร่งก็ได้ ถ้าใส่กางเกงต้องมีผ้าพัน หรือมองดูคล้ายโสร่งสั้น จากสะดือถึงเข่า ภาษามลายูเรียกผ้าพันนี้ว่า ซัมปิน (Sampin) ซึ่งสีไมฉูดฉาด แต่ก็สวยงามบางทีเป็นผ้าไหม ดิ้นทอง ซัมปินทำให้ชุดผู้ชายดูสุภาพเรียบร้อย ทั้งยังสามารถกันเปื้อนได้อีกด้วย
ที่ศีรษะผู้ชายจะสวมหมวกแขกกำหยี่สีดำ ภาษามลายูเรียกว่า ซองโก๊ะ (Songkok) แต่ถ้าจะให้เต็มยศบางคนก็จะสวมผ้าพันเป็นรูปมงกุฎสวมทับไปบนหมวกอีกชั้นหนึ่ง
การพับผ้าเป็นรูปมงกุฎมีแบบต่างๆ เช่น รูปนกอินทรีปีกหัก รูปช้างรบ รูปสู้ลม ถือเป็นศิลปะที่ต้องใช้เวลาประดิดประดอย จึงไม่เป็นที่นิยม ในอดีตการสวมผ้าพับรูปมงกุฎนี้เป็นเครื่องบอกชนชั้นในสังคมมาเลเซีย ส่วนใหญ่เป็นเครื่องทรงขององค์สุลต่านและราชวงศ์ ส่วนสามัญชนจะสวมใส่ผ้าพันมงกุฎนี้ในวันสำคัญเช่นในวันแต่งงาน ซึ่งหมายถึงเจ้าบ่าวเป็นเจ้าชายในวันนั้น
สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งของชาวมาเลเซียคือ กริช ซึ่งเคยเป็นอาวุธประจำกายของผู้ชายที่ต้องติดตัวอยู่ตลอดเวลา แต่ปัจจุบันกริช ใช้เป็นเครื่องประดับในชุดบาจู กูหรง โดยเหน็บข้างเอวให้เห็นเท่านั้น การแต่งกายแบบนี้สำหรับชาวมาเลเซียถือว่าสุภาพมาก มักแต่งไปในงานพิธีเช่นงานแต่งงาน
ที่กล่าวมานี้ค่อนข้างเป็นการแต่งกายที่เป็นทางการ แต่ถ้าต้องการความสะดวกเรียบง่าย เพื่อไปประกอบพิธีกรรมที่มัสยิด ก็เพียงโสร่ง สวมเสื้อปล่อยชายยาวคลุมทับโสร่ง สวมหมวกกำมะหยี่สีดำ
บางครั้งผู้ชายก็แต่งตัวอย่างสากล ใส่เสื้อแขนยาวสีขาวหรือสีอ่อน ดูสุภาพ กับกางเกงสีเข้ม และที่ขาดไม่ได้คือใส่หมวกกะปิเยาะห์
ชุดผู้หญิง มีเครื่องแต่งกายน้อยชิ้นกว่าชาย ทั้งเสื้อและกระโปรงตัดด้วยผ้าบางเบา เนื่องจากภูมิอากาศที่ร้อนอบอ้าว ผ้าเป็นลวดลายและสีเดียวกันทั้งชุด หรือสีที่เข้ากันดีระหว่างเสื้อกับผ้านุ่ง นิยมลวดลายดอกไม้สีสันสดใส เสื้อผู้หญิงเป็นแบบแขนยาว ชายเสื้อยาวลงมาถึงเข่า บางคนนิยมตัดเย็บเสื้อเข้ารูป แต่บางคนปล่อยให้หลวมๆ ไม่เน้นรูปร่าง ส่วนท่อนล่างเป็นกระโปรงยาวคลุมตาตุ่ม ไม่ผ่าข้าง เมื่ออกนอกบ้าน ผู้หญิงมาเลเซียนิยมคลุมศีรษะด้วยผ้าบางเบา มีสีสันลวดลายดูกลมกลืนหรือเป็นลายเดียวกับเสื้อและกระโปรง ผ้านี้บางทีก็นำมาคลุมไหล่เป็นเครื่องประดับได้ด้วย สตรีมุสลิมที่เคร่งครัดก็มักคลุมฮิญาบ หรือที่ชาวมลายูเรียกว่า ตุดง (Tudung) ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมมากขึ้น